Last updated: 16 พ.ค. 2567 | 817 จำนวนผู้เข้าชม |
ความรัก เป็นเรื่องที่หลายต่อหลายคนบอกว่า โตแค่ไหนก็ยังอ่อนหัดเรื่องนี้ได้อยู่เสมอ มีปัญหาที่ต้องปรับต้องแก้กันอยู่เรื่อยไป จนบางครั้งก็ท้อและต้องทำใจปล่อยมือจากกัน ที่หน้าปกหนังสือ คนที่ใช่จะไม่ยาก หนังสือเล่มใหม่ของคุณหมอจริง จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น บอกไว้ว่า ต่อให้เจอเรื่องที่ยาก คนที่ใช่ก็จะพยายามจับมือผ่านพ้นไปด้วยกัน ผมนึงสงสัยว่าความรักง่ายขนาดนั้นจริงหรือ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าคนที่คบอยู่เป็นคนที่ใช่จริงๆ หรือเปล่า ผมเลยขอชวนคุณหมอจริงมาร่วมพูดคุยถึงปัญหาความรักคลาสสิกที่คนทั่วไปพบเจอกันอยู่บ่อยๆ ครับ
อันนี้ต้องถามแล้วว่าอดทนเรื่องอะไร เพราะความอดทนควรมีขีดจำกัด ถ้าเราอดทนมากเกินไป จนอีกฝ่ายมาล้ำเส้นเรา บงการชีวิตเราทุกอย่าง หรือไม่ให้เกียรติเรา คบซ้อน พูดจาดูถูก เราต้องมาดูแล้วล่ะว่านิยามความรักของเราเป็นอย่างไร เขาอาจจะ เคย เป็นคนที่ใช่ แต่ตอนนี้เขา ไม่ใช่ คนที่ใช่แล้วก็ได้ค่ะ
จริงๆ คำถามนี้ตอบยากเพราะต้องดูบริบทอย่างอื่นประกอบด้วยค่ะ เช่น ถ้าเขาเป็นคนที่ใช่สำหรับเรา ปฏิบัติต่อเราดีทุกอย่าง ปฏิบัติต่อคนอื่นก็ดีด้วย แต่เป็นที่คนรอบข้างเราเองที่มีอคติกับเขา จะเห็นได้บ่อยจากบางบ้านที่ค่อนข้างยึดกับธรรมเนียม เช่น ที่บ้านคนจีน อยากได้สะใภ้หรือลูกเขยคนจีนเท่านั้น หรืออยากให้ลูกคบกับคนที่ศาสนาเดียวกัน พอเราพาคนของเราเข้าบ้าน คนที่บ้านก็ไม่ชอบทันทีทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รู้จักนิสัยใจคอ ถ้าเป็นแบบนี้ อาจจะต้องลองดูว่าคนรอบข้างของเราสามารถเปิดใจได้ไหม พอลองรู้จักคนรักของเราแล้วน่าจะเข้ากันได้เพราะเขาเป็นคนดี แบบนี้ก็เห็นได้บ่อยเหมือนกันว่าถ้าที่บ้านวางอคติลงแล้ว ก็จะรักคนที่ใช่ของเราเหมือนที่เรารักเขาเลย
อีกแบบหนึ่ง คือคนที่ปฏิบัติต่อเราดีมาก แต่ปฏิบัติต่อคนอื่นไม่ดี ชอบพูดจาถากถางคนอื่น โดยเฉพาะคนที่ไม่มีประโยชน์กับเขา อันนี้เราต้องมาดูว่าถ้าวันหนึ่งเราไม่สำคัญกับเขาอีกแล้ว หรือเขารักเราน้อยลงแล้ว เขาจะยังปฏิบัติกับเราดีอยู่หรือเปล่า สำหรับบางคนการปฏิบัติตัวกับคนอื่นถือเป็นเรื่องใหญ่ในความสัมพันธ์ ก็อาจทำให้คนแบบนี้เป็นคนที่ไม่ใช่ได้ค่ะ
อันนี้ต้องใช้วิทยาศาสตร์มาอธิบายนิดหนึ่งค่ะ คือการคบกันไปนานๆ แล้วความรู้สึกเปลี่ยนไปนั้นเป็นเรื่องปกติ เพราะว่าธรรมชาติสร้างมาให้เป็นแบบนั้น ต้องบอกก่อนว่าเวลาเราคบกับใครใหม่ๆ จะมีสารสื่อประสาทในสมองที่หลั่งออกมาแล้วทำให้เราตื่นเต้น ลองสังเกตดูนะคะ เรารู้สึกท้องหวิวๆ เวลาที่สบตากัน รู้สึกใจเต้นตอนจับมือ นั่นเป็นเพราะร่างกายเรามีสารสื่อประสาทนั้นออกมามาก
แต่พอคบกันไปนานๆ สารนั้นจะลดลง เราไม่สามารถใจเต้นตอนจับมือได้ตลอดเวลา เพราะถ้าเป็นแบบนั้นร่างกายจะอยู่ในสภาวะตื่นตัวบ่อยเกินไป สารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันธ์จะหลั่งออกมาแทน นั่นอธิบายว่าทำไมเราถึงไม่รู้สึกใจสั่นเหมือนแต่ก่อนแล้ว บางคนอาจคิดว่านั่นเป็นเพราะเราไม่รักกันแล้ว ไม่ใช่เลยค่ะ เป็นเพราะธรรมชาติสร้างมาให้เป็นแบบนี้ ให้เรารู้สึกผูกพันกันมากกว่า และถ้าเรารู้ความลับของสารสื่อประสาทในสมอง เราจะรู้วิธีทำให้รักยังหวานชื่นอยู่ เช่น ไปทำกิจกรรมใหม่ๆ ด้วยกัน จับมือกัน ใช้เวลาร่วมกัน หากใครสนใจเรื่องนี้เพิ่มเติม สามารถอ่านที่ได้ที่บทที่ 19 ความรักกับสารเคมีในสมอง ในหนังสือ คนที่ใช่จะไม่ยาก ค่ะ
จริงๆ หมอคิดว่าความคาดหวังมีประโยชน์นะคะถ้าใช้อย่างเหมาะสม เช่น เราคาดหวังให้แฟนเรารักเดียวใจเดียว เพราะนั่นเป็นคุณสมบัติที่พึงมีสำหรับคู่รัก เราคาดหวังให้แฟนบอกล่วงหน้าถ้าจะกลับบ้านดึก เราจะได้ไม่ต้องรอทานข้าวด้วย เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของคนที่ห่วงใยกัน
ความคาดหวังที่พอดีในเรื่องที่เหมาะสมเป็นเรื่องปกติของคนรัก แต่ถ้าเราคาดหวังทุกเรื่อง แม้แต่กระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อาจจะเป็นการทำลายความสัมพันธ์ได้ ดังนั้นอยากให้พูดคุยกันว่าเรื่องไหนสามารถปรับได้ เรื่องไหนอาจจะต้องวางใจลง หมอเชื่อว่าถ้าคนสองคนอยู่ด้วยกันบนพื้นฐานของความรัก ย่อมอยากทำให้อีกฝ่ายมีความสุข แม้การปรับตัวอาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงทันทีทันใด แต่ค่อยเป็นค่อยไป ก็ทำให้เราเห็นความพยายามของอีกฝ่าย และบางเรื่อง หากลดความคาดหวังลงได้บ้าง ก็จะช่วยให้ความสัมพันธ์ดีขึ้นได้ค่ะ
น่าจะเป็นจริงสำหรับบางคู่ แต่ก็อาจใช้ไม่ได้กับทุกคู่เสมอไป สำหรับบางคู่เราจะเห็นว่าเขาเข้ากันได้ทุกอย่าง ไม่ต้องปรับตัวมากมาย ความเห็นตรงกันแทบทุกเรื่อง ไม่เคยทะเลาะกันเลย แต่สำหรับบางคู่อาจจะต้องใช้เวลาปรับตัว เพราะแต่ละคนย่อมเติบโตมาคนละสภาวะแวดล้อม มีความคิด การมองโลก ความคาดหวังที่แตกต่างกัน
หมอคิดว่าคนที่ใช่นั้นไม่ได้ง่ายเสมอไป แต่คนที่ใช่จะทำให้เรื่องยากไม่ลำบากจนเกินไป เพราะถึงแม้จะเจออุปสรรคอะไร ไม่ว่าอุปสรรคนั้นจะเป็นเรื่องนิสัยที่ต่างกันในบางเรื่อง การเข้ากันได้ของครอบครัวทั้งสอง หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับอนาคต คนที่ใช่ก็จะพยายามจับมือผ่านพ้นไปด้วยกันค่ะ
24 ก.ย. 2567
3 พ.ค. 2567
30 ก.ค. 2567